สารบัญเว็บไซต์

สารบัญเว็บไซต์ !

เบนจามิน เกรแฮม

      เบนจามิน เกรแฮม ผู้ที่เป็นอาจารย์สอนวาชาเรื่องการลงทุนให้แก่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ผู้เป็นกูรูมหาเศรษฐีด้านการลงทุน  นอกจากนี้เบนจามิน เกรแฮมยังถือได้ว่าเป็นผู้ที่คิดค้นวิธีการเล่นหุ้นยังงัยให้ได้หุ้นหลายเด้ง ในบทความนี้จะพาท่านย้อนกลับไปดูเรื่องราวของเขาว่าเดิมทีเขาเป็นใคร เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับตัวเขาบ้าง และหุ้นหลายเด้งเขาทำอย่างไร

      ชีวิตและการลงทุนของเบนจามิน เกรแฮม 
       เกรแฮมเกิดที่กรุงลอนดอนในปี 1894 หลังจากนั้นครอบครัวของเขาย้านมาอยู่ในสหรัฐอเมริกา เมื่อมาอยู่ที่นี่ได้ไม่นาน บิดาของเขาก็เสียชีวิตลง  แม่ของเขาก็ต้องสูยเสียเงินออมเกือบทั้งหมด อันเนื่องมาจากวิกฤตทางเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้น  ด้วยเพราะเหตุนี้เอง เกรแฮมต้องอดทนเป็นอย่างมากเป็นเวลานานเพื่อเอาชนะความยากจนนี้ไปให้ได้ ในที่สุดเขาก็สอบเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยโครลัมเบียที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา เพื่อหวังว่าเรียนจบมาแล้วจะได้มีงานที่ดีทำ
      หลังจากที่เรียนจบแล้ว เขาได้เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยนี้ และทำงานเป็นนักวิจัยทางการเงินและการลงทุน  นอกจากนี้แล้วเขายังทำงานเป็นนักค้าหุ้นที่บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง  ผลงานของเขาโดดเด่นมากจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการและหุ้นส่วนของบริษัท เขาสามารถทำเงินได้เป็นจำนวนมากจากอาชีพนี้  ได้รับผลตอบแทนประมาณ 5แสนดอลลาร์ต่อปี ถ้าคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 15 ล้านบาท (อันนี้คือจัวเลขเมื่อเกือบร้อยปีที่แล้วนะครับ ถ้าเป็นตอนนี้ก็คงเกือบ 50 ล้านบาทเห็นจะได้) ลองคิดดูนะครับว่าถ้าทำงาน 1 ปีแล้วได้เงินประมาณ 50 ล้านบาท ท่านคิดว่างานนี้น่าทำมั้ยละครับ
       ในปีพ.ศ. 2469 เกรแฮมได้ตัดสินใจก่อตั้งบริษัทการลงทุนร่วมกับนายหน้าค้าหุ้นคนหนึ่งชื่อว่า เจโรมี นิวแมน   ในปี 2472 เกิดเหตุการณ์มหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก  ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีการเก็งกำไรอย่างสูงในตลาดหุ้นนิวยอร์ก  และจบด้วยความล้มเหลวของคนเล่นหุ้น ลามมาถึงบริษัทหลักทรัพย์ และสถาบันการเงิน จากนั้นก็ค่อยๆลุกลามออกไปทั่วทวีปอเมริกาเหนือ ไปทวีปยุโรป และก็กระจายออกไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย  เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกือบจะทำให้เกรแฮมต้องล้มละลาย  แต่ยังโชคดีที่ยังสามารถรอดพ้นมาได้  แต่ว่าเงินที่จะไว้เลี้ยงด฿คตรอบครัวก็มีไม่เพียงพอ ทำให้ภรรยาของเขาต้องไปเป็นครูสอนเต้นรำเพื่อมาช่วยเหลือครอบครัวอีกททางหนึ่ง
       บทเรียนจากมหาวิกฤตดังกล่าวทำให้เบนจามิน เกรแฮมเกิดความคิดว่า จะต้องหาวิธีการลงทุนที่สามารถเผชิญและเอาชนะวิกฤตเศรษฐกิจต่างๆได้  เกรแฮมจึงได้ชวนเพื่อนอาจารย์ที่มีชื่อว่า เดวิด ดอดด์ มาช่วยกันหาแนวทางดังกล่าว และในที่สุดเขาก็ค้นพบและนำแนวทางดังกล่าวมาตีพิมพ์เป็นหนังสือมีชื่อว่า  Security Analysis  ข้อมูลในหนังสือเล่มนี้ ทั้งเกรแฮมและ ดอดด์ ได้ให้แนวความคิดของ มูลค่าที่แท้จริง ของราคาหุ้น  ผมจะขอเล่าถึงบทสรุปของหังสือเล่มนี้เลยครับ ก็คือ จะเน้นไปที่การลงทุนอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ มีดังนี้ครับ

       การซื้อหุ้นใดๆก็ตาม ต้องซื้อในราคาที่ต่ำกว่า มูลค่าที่แท้จริง ของมันเท่านั้น
       บริษัทที่ทั้งคู่ได้ก่อตั้งขึ้นมานั้นได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ผลตอบแทนตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2469-2499 เป็นเวลาประมาณ 30 ปี เฉลี่ยสูงถึงปีะล 20% ระหว่างนั้นในปี 2492 เบนจามิน เกรแฮม ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า The Intelligence Investor  หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับ การลงทุนที่เน้นคุณค่า และได้ให้แนวทางการลงทุนแบบใหม่ ที่เน้นในเรื่องการลงทุนในหุ้นคุณค่า หลักการลงทุนในหนังสือเล่มนี้เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง จนหนังสือเล่มนี้ได้รับสมยานามว่า "คัมภีร์ไบเบิ้ลแห่งการลงทุนเน้นคุณค่า" และเกรแฮมเองก็ได้รับสมยานามว่า บิดาแห่งการวิเคราะห์หลักทรัพย์

       ข้อสรุปต่อมาคือ เทคนิคการแสวงหาหุ้นหลายเด้ง
       หากหุ้นใดที่ราคาต่ำลงมามากแล้ว และเป็นหุ้นที่เกรแฮมส่วนใหญ่สนใจและสามารถหามูลค่าหุ้นที่แท้จริงของหุ้นตัวนั้นได้  เขาก็จะพิจารณาต่ออีกว่าราคาที่เสนอขายของหุ้นตัวนั้นมีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากเพียงพอที่จะทำให้เขาอยากซื้อมั้ย  ถ้าราคาหุ้นถูกจริงๆ เขาก็จะซื้อหุ้นตัวนั้น เพราะเขารู้ดีว่าถ้าเขาซื้อหุ้นได้ในราคาที่ถูก เขาก็จะยิ่งม่ส่วนเผื่อในความปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นส่วนเผื่อที่จะช่วยให้เขารอดพ้นจากการขาดทุน ก็คือ ลงทุนถูกเพื่อเป็นการป้องกันการขาดทุนนั่นเองครับ

       ข้อสรุปต่อมาคือ การใช้เทคนิค Net - Net  ในการค้นหาหุ้นหลายเด้ง
       วิธีนี้จะเกี่ยวข้องกับตัวเลขทางบัญชีบ้างนั่นก็คือ การค้นหาบริษัทที่มีเงินสดบวกกับทรัพย์สินที่เทียบเท่าเงินสดของบริษัท(หมายถึงทรัพย์สินหมุนเวียนนะครับ) และหักออกด้วยหนี้สินของบริษัททั้งหมดทั้งระยะสั้นและระยะยาว  แล้ว ตัวเลขที่ออกมาเท่ากับมูลค่าของบริษัทที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหุ้น
       สรุปก็คือเอาเงินสดและสิ่งที่เทียบเท่าเงินสดทั้งหมด ถ้านำมาคิดรวมกันแล้วสามารถนำไปจ่ายชำระหนี้ได้ทั้งหมด  ที่เหลือก็เท่ากับว่าจะได้เป็นทรัพย์สินระยะยาวขึ้นมา  ได้แก่ ที่ดิน อาคาร โรงงาน เป็นต้น  ถ้าราคาหุ้น คูณกับหุ้นทั้งหมดออกมาแล้ว เท่ากับ ราคาของสินทรัพย์ระยะยาวทั้งหมดนั่นเเองครับ
อย่างไรก็ตามเบนจามินเกรแฮมจะซื้อที่ตนเองชอบในราคาประมาณ 2 ใน 3 ของมูลค่าเต็มแบบ Net-Net เท่านั้น ซึ่งจะทำให้มีส่วนเผื่อในความปลอดภัย มากเพียงพอที่จะป้องกันการขาดทุนของหุ้นนั้นไว้ได้ครับบ

       หลักเกณฑ์ในการหาหุ้นหลายเด้งของเบนจามิน เกรแฮม
      เนื่องจากว่าเขาเป็นคนที่มีวินัยในการลงทุนที่สูง  ดังนั้นเขาจึงตั้งเกณฑ์การหาหุ้นไว้อย่างละเอียด  ผมจะขอนำหลักเกณฑ์ของเกรแฮมให้เหมาะสมกับตลากหุ้นในเมืองไทยนะครับ
  - การจัดพอร์ดโฟลิโอของเกรแฮม จะจัดพอร์ตหุ้นและตราสารหนี้ไว้ที่อัตราส่วนประมาณ 50:50 แต่ในยามที่ตลาดผันผวนอัตราส่วนนี้อาจจะเปลี่ยนไปเป็นถึง 75:25  หรือ 25:75 ก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับโอกาสที่จะซื้อหรือขายหุ้นนั่นเองครับ
  - จำนวนหุ้นที่เกรแฮมจะถือ ณ เวลาใดๆก็ตาม จะอยู่ประมาณ 10-30 ตัว ซึ่งเป็นจำนวนที่เกรแฮมคิดว่า จะสามารถกระจายความเสี่ยงได้ดี และสามารถที่จะติดตามราคาหุ้นและผลประกอบการได้อย่างทั่วถึง
  - ต้องไม่เป็นบริษัทเทคโนโลยี เพราะเกรแฮมไม่เข้าใจว่าธุรกิจเหล่านี้จะสามารถสร้างผลกำไรในรยะยาวได้อย่างไร เขาจึงไม่ลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้  ผมเชื่อว่าเขาต้องลงทุนในหุ้นบริษัทที่เป็นจำพวกของกิน เพราะของกินเป็นสิ่งที่กินแล้วหมดไปในทันที บริษัทต้องคอยผลิตออกมาได้เรื่อยๆ ซึ่งต่างจากเทคโนโลยี ที่ซื้อเพียงแค่ครั้งเดียวใช้ได้เป็นสิบปี
  - ต้องไม่เป็นสถาบันการเงิน เขามองว่าบริษัทเหล่านี้เวลาที่เกิดวิกฤต มีโอกาสที่จะล้มละลายแบบไม่มีวันกู่กลับไปเลย
  - มีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นไม่ต่ำกว่า 30% เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี
  - ไม่มีผลขาดทุนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
  - ราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น ต้องน้อยกว่า 15 เท่า
  - ราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี ต้อวน้อยกว่า 2.2 เท่า
  - ค่าหนี้สินต่อทุนต้องมีค่าน้อยกว่า 1 เท่า
  - ข้อสุดที่จะผ่านเกณฑ์ของเบนจามิน เกรแฮมนั่นก็คือ หุ้นตัวนั้นๆ ต้องเป็นหุ้นของบริษัทที่จ่ายเงินปันผล

       บทสรุปของบทความนี้ขอสรุปเป็นคำพูดของเบนจามิน เกรแฮมเลยครับ "ถ้าคุณคิดจะซื้อหุ้น คุณควรจะเลือกซื้อหุ้นที่วิธีเดียวกับที่คุณซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ต ไม่ใช่วิธีเดียวกับที่คุณซื้อน้ำหอม" (ซื้อหุ้นที่มีประโยชน์ที่ดูแล้วมีประโยชน์จริงๆเท่านั้น) , "ใครก็ตามที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้แล้ว เขาคนนั้นก็ยากจะที่จะทำกำไรจากการลงทุนได้"(อย่าใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผลนะครับ) , "การลงทุนเพื่อผลกำไร ไม่ควรอยู่บนพิ้นฐานของการมองโลกในแง่ดี แต่ควรอยู่บนพื้นฐานของคณิตศาสตร์"(ต้องคิดไตร่ตรองให้ดีแล้วค่อยลงทุนนะครับ อย่าผลีผลาม) , "ในโลกของหุ้น ความกล้าหาญจะกลายเป็นพลังอันสูงสุดได้ก็ต่อเมื่อ มีพร้อมทั้งความรู้และการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วเท่านั้น"  ทั้งหมดนี้เป็นคำพูดของเกรแฮม ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งการวิเคราะห์หลักทรัพย์" ครับ




++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ขอบคุณข้อมูลจาก ประวัติเบนจามิน เกรแฮม
ภาพจากSinthomcafe

1 ความคิดเห็น: